วันอาทิตย์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Malaysia:ประเทศมาเลเซีย

ประเทศสมาชิกอาเซียนลำดับถัดไปที่นักเรียน จะได้ทำความรู้จักคือ มาเลเซีย (Malaysia) หนึ่งใน 5 สมาชิกก่อตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศเพื่อนบ้านทางใต้ของไทย


มาเลเซีย
Malaysia 


ที่ตั้งและอาณาเขต


มาเลเซีย เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ประเทศแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกคือคาบสมุทรมลายูหรือมาเลเซียตะวันตก มีพรมแดนด้านทศเหนือติดกับประเทศไทยทางรัฐกลันตัน เประ ปะลิสและเกดะห์ และทิศใต้ติดกับสิงคโปร์ทางรัฐยะโฮร์ 

ส่วนที่สองคือมาเลเซียตะวันออกอยู่ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพรมแดนทิศใต้ติดกับอินโดนีเซีย และมีพรมแดนล้อมรอบประเทบรูไน

เมืองหลวง 

เมืองหลวงของมาเลเซีย คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur)

 ระบอบการปกครอง

  สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน ตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ชาห์
พระราชาธิบดีองค์ปัจจุบัน

นายกรัฐมนตรีนาจิบ ราซัก
นายกรัฐมนตรีมาเลเซียคนปัจจุบัน

ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ประมุขแห่งรัฐคือพระราชาธิบดี ประมุขฝ่ายบริหารคือนายกรัฐมนตรี 


 ธงชาติและตราแผ่นดิน

  
ธงชาติมาเลเซียหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ ยาลูร์ เกมิลัง หรือ ธงริ้งแห่งเกียรติศักดิ์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงิน ภายในบรรจุเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยวและดาว 14 แฉก ที่มีชื่อว่า บินตัง เปอร์เซกูตัน หรือ ดาราสหพันธ์

ตราแผ่นดินของมาเลเซีย ประกอบด้วย 5 ส่วนหลักๆ คือ โล่ เสือโคร่งสองตัว พระจันทร์เสี้ยวสีเหลือง ดาวสีเหลือง 14 แฉก และแถบผ้า  (เรียนรู้เพิ่มเติม http://th.wikipedia.org)


 ประชากร

มาเลเซียมีจำนวนประชากรประมาณ 29,179,952 คน (ข้อมูลประมาณการในเดือน กรกฎาคม 2555 จาก https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/my.html ) มากเป็นอันดับที่ 43 ของโลก มาเลเซียประกอบไปด้วยประชากรหลายเชื้อชาติ ได้แก่ชาวมาเลย์ ชาวจีนและชาวอินเดีย

 สกุลเงิน

ที่มาของภาพ 
http://en.wikipedia.org/wiki/File:New_Malaysian_Currency_Design.jpg 

สกุลเงินของมาเลเซีย คือ ริงกิต (Ringgit) 1 ริงกิตมีค่าประมาณ 10 บาทไทย

ดอกไม้ประจำชาติ 

ที่มาของภาพ
http://ms.wikipedia.org/wiki/Fail:Hibiskus_rosa-sinensis_-_Kwiat.JPG 

ดอกไม้ประจำชาติมาเลเซียคือ ดอกพู่ระหง หรือ Bunga Raya เป็นดอกไม้ที่พบได้ทั่วไปในประเทศมาเลเซีย


อาหารยอดนิยม

ที่มาของภาพ
 http://en.wikipedia.org/wiki/File:Nasi_Lemak,_Mamak,_Sydney.jpg

นาซิ เลอมัก (Nasi Lemak) หนึ่งในอาหารยอดนิยมของมาเลเซีย เป็นข้าวผัดกับกะทิและสมุนไพร เสิร์ฟพร้อมกับปลากะตักทอด แตงกวาหั่น ไข่ต้มสุกและถั่วอบ มักรับประทานเป็นอาหารเช้า

ชุดแต่งกายประจำชาติ

 ที่มาของภาพ
 http://melonphilic.blogspot.com/2011_04_01_archive.html
  
ชุดของผู้ชายเรียกว่า บาจู มลายู (Baju Melayu) ประกอบด้วยเสื้อแนยาวและกางเกงขายาวที่ทำจากผ้าไหม ผ้าฝ้ายหรือโพลีเอสเตอร์ ส่วนชุดของผู้หญิงเรียกว่า บาจู กุรง (Baju Kurung) ประกอบด้วเสื้อคลุมแขนยาวและกระโปรงยาวถึงเท้า

วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Lao People's Democratic Republic:สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Lao's People Democratic Republic


ที่ตั้งและอาณาเขต 

 ที่มาของภาพ:UNdata

ประเทศลาวมีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีพรมแดนติดกับประเทศจีนและประเทศพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก

เมืองหลวง

ที่มาของภาพ:http://en.wikipedia.org/wiki/File:Patuxai_57.jpg
 
กรุงเวียงจันทน์ (Vientiane) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของลาว ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำโขง ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ

ระบอบการปกครองและผู้นำประเทศ


พณฯ จูมมะลี ไซยะสอน
ประธานประเทศคนปัจจุบัน


นายกรัฐมนตรีทองสิง ทำมะวง
นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน

ลาวปกครองในระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ มีประธานประเทศเป็นผู้นำสูงสุด และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล 


ธงชาติและตราแผ่นดิน


ธงชาติลาว หรือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นธงพื้นสีครามแถบแดงและวงเดือนสีขาวอยู่กึ่งกลางของธงชาติ มีชื่อเรียกในภาษาลาวว่า ธงดวงเดือน


 ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ประชากร 



ลาวมีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 6,586,266 คน (July 2012 est.) ประกอบด้วยชนชาติหลากหลายเชื้อชาติ ได้แก่ 
1. ลาวลุ่ม  คือชาวลาวที่อาศัยอยู่ในที่ราบ เป็นกลุ่มชาวลาวที่จำนวนมากที่สุดในประเทศ คิดเป็นร้อยละประมาณ 68 ของประชากรลาวทั้งหมด
2. ลาวเทิง คือชาวลาวที่อาศัยอยู่ในที่ราบสูง คิดเป็นร้อยละประมาณ 22 ของประชากรทั้งประเทศ
3. ลาวสูง หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตภูเขาสูง เช่น ชาวม้ง เย้า มูเซอ คิดเป็นประมาณร้อยละ 9 ของประชากรทั้งหมด 
(เรียนรู้เพิ่มเติมที่ http://203.172.179.25/historysk1/his4/asean4.htm

 ศาสนา


ชาวลาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ นอกจากนั้นยังมีผู้นับถือศาสนาคริสต์และอิสลามอีกจำนวนเล็กน้อย

สกุลเงิน 


กีบ (Kip) เป็นสกุลเงินของประเทศลาว ธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้ในปัจจุบันนี้มีฉบับละ 500 กีบ, 1,000 กีบ, 2,000 กีบ, 5,000 กีบ, 10,000 กีบ, 20,000 กีบ และ 50,000 กีบ

* 1,000 กีบ มีค่าเท่ากับประมาณ 4 บาทไทย


ดอกไม้ประจำชาติ


ดอกลีลาวดี หรือ Champa เป็นดอกไม้ประจำชาติและเป็นสัญลักษณ์ของประเทศลาว เป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมและมีหลากหลายสี เป็นตัวแทนของความจริงใจและความสุขในชีวิต

(เรียนรู้เพิ่มเติมที่ http://aseancorner.blogspot.com/2011/11/national-flowers-of-10-asean-countries.html)

าหารยอดนิยม


ซุปไก่ (Chicken Soup) เป็นหนึ่งในอาหารพื้นเมืองของประเทศลาว มีส่วนผสมที่สำคัญคือ ตะไคร้ ใสะระแหน่ กระเทียมและหอมแดง ส่วนใหญ่อาหารลาวจะอุดมไปด้วยผักและสมุนไพรชนิดต่างๆ

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

Republic of Indonesia:สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
Republic of Indonesia 

 ที่มาของภาพ:http://en.wikipedia.org/wiki/File:Istiqlal_Mosque_Monas.jpg

ที่ตั้งและอาณาเขต 

 ที่มาของภาพ:http://data.un.org/CountryProfile.aspx?crName=Indonesia
อินโดนีเซีย หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก  มีพื้นที่ประกอบไปด้วยเกาะต่างๆ ประมาณ 17,508 เกาะ ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนและทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซีย ปาปัวนิวกินี ติมอร์ตะวันออก สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และหมู่เกาะนิโคบาร์และอันดามันประเทศอินเดีย

เมืองหลวง

 
กรุงจาการ์ตา เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย ตั้งอยู่บนเกาะชวาฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและการเมืองการปกครองของประเทศ ปัจจุบันมีประชากรในเมืองหลวงแห่งนี้ประมาณ 9,580,000 คน

ระบอบการปกครองและผู้นำประเทศ


ประธานาธิบดีซูซิโล บัมบัง ยุดโดโยโน
 
อินโดนีเซียปกครองในระบอบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุขสูงสุดของประเทศ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันคือ พลโทซูซิโล บัมบัง ยุดโดโยโน

ตราแผ่นดินและธงชาติ


ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย มีชื่อว่า ตราพญาครุฑปัญจศีล (เรียนรู้เพิ่มเติม http://th.wikipedia.org/wiki/ตราแผ่นดินอินโดนีเซีย)

ธงชาติอินโดนีเซีย รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ซังเมราห์ปูติห์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน ครึ่งบนสีแดงหมายถึงความกล้าหาญและอิสรภาพ ครึ่งล่างสีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ยุติธรรม

สกุลเงิน

 ที่มาของภาพ:http://en.wikipedia.org/wiki
สกุลเงินอินโดนีเซีย คือ รูเปียห์ (Rupiah) 1,000 รูเปียห์มีค่าเท่ากับประมาณ 3 บาทไทย

อาหารยอดนิยม


อาหารที่ได้รับความนิยมของอินโดนีเซียคือ กาโด กาโด (Gado Gado) มีลักษณะคล้ายกับสลัดแขก ซึ่งประกอบไปด้วย ถั่วเขียว มันฝรั่ง ถั่วงอก เต้าหู้ ไข่ต้มสุก กะหล่ำปลี ข้าวเกรียบกุ้ง รับประทานกับซอสถั่วที่มีลักษณะเหมือนซอสสะเต๊ะ

ดอกไม้ประจำชาติ

กล้วยไม้ราตรี หรือ Moon Orchid เป็นดอกไม้ประจำชาติของอินโดนีเซีย เป็นหนึ่งในบรรดาดอกกล้วยไม้ที่บานนานที่สุด สามารถจะเติบโตได้ดีในอากาศชื้น จึงมักพบได้ทั่วไปในที่ราบต่ำของอินโดนีเซีย  

(เรียนรู้เพิ่มเติมที่ http://www.chulapedia.chula.ac.th)

 ชุดประจำชาติ

 ที่มาของภาพ:http://kus.kps.ku.ac.th/satit/asean

เคบาย่า เป็นชุดประจำชาติอินโดนีเซียสำหรับผู้หญิง มีลักษณะเป็นเสื้อแขนยาว ผ่าหน้า กลัดกระดุม ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ ส่วนผ้าถุงที่ใช้จะเป็นผ้าถุงแบบบาติก ส่วนการแต่งการของผู้ชายมักจะสวมใส่เสื้อแบบบาติกและนุ่งกางเกงขายาว และนุ่งโสร่งเมื่ออยู่บ้านหรือประกอบพิธีละหมาดที่มัสยิด 

(เรียนรู้เพิ่มเติมที่ http://aseancorner.blogspot.com/2011/12/national-costumes-of-asean-member.html)

 สัตว์ประจำชาติ

  
สัตว์ประจำชาติอินโดนีเซียคือ มังกรโคโมโด (Komodo dragon) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พบได้เฉพาะที่เกาะโคโมโด ในประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น

(เรียนรู้เพิ่มเติมในรูปแบบสองภาษาที่ http://aseancorner.blogspot.com/2012/06/national-animals-of-10-countries-in.html)

วันเสาร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2557

Children's Day in ASEAN Countries:วันเด็กในภูมิภาคอาเซียน



Occurrence

Date

Country


Second Saturday of January


January 11, 2014

Thailand






June 1

Cambodia

East Timor

Laos

Myanmar

Vietnam




July 23


Indonesia

First Friday of October


October 3, 2014

Singapore

Fourth Saturday of October


October 25, 2014

Malaysia





November 20

Philippines

Brunei



Source: