มุ่งให้ความรู้เกี่ยวกับทุกเรื่องราวของอาเซียนแก่นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมเด็กไทย ต้อนรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558
วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556
Kingdom of Cambodia:ราชอาณาจักรกัมพูชา
ที่มาของภาพ:http://data.un.org/CountryProfile.aspx?crName=Cambodia
กัมพูชา หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักกัมพูชา เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทางทิศใต้จรดกับอ่าวไทย ทางทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทางทิศตะวันออกติดกับเวียดนาม
ที่มาของภาพ:
เมืองหลวงของกัมพูชาคือ กรุงพนมเปญ (Phnom Penh) ตั้งอยู่ใจกลางของประเทศ เป็นเมืองศูนย์กลางการค้า การเมืองและวัฒนธรรมของกัมพูชา
พระบาทสมเด็จ พระบรมนาถ นโรดมสีหมุนี
พระมหากษัตริย์กัมพูชาองค์ปัจจุบัน
ฮุน เซ็น
นายกรัฐมนตรีกัมพูชาคนปัจจุบัน
กัมพูชาปกครองแบบระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี เป็นประมุขแห่งรัฐ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซ็น เป็นประมุขรัฐบาล
ที่มาของภาพ:
ธงชาติกัมพูชา มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผืนธงแบ่งตามความยาวเป็น 3 ริ้ว โดยริ้วกลางนั้นเป็นพื้นสีแดง มีความหมายถึงชาติ มีรูปปราสาทหินนครวัดสามยอดสีขาวอยู่ตรงกลาง สีขาวหมายถึงสันติภาพและศาสนา ริ้วที่อยู่ด้านนอกทั้งสองด้านนั้นพื้นสีน้ำเงิน หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์
ที่มาของภาพ:
เรียล (Riel) เป็นสกุลเงินของประเทศกัมพูชา 1 เรียลมีค่าเท่ากับประมาณ 27 บาทไทย
ที่มาของภาพ:
ที่มาของภาพ:http://www.chulapedia.chula.ac.th
Rumdul หรือ ดอกลำดวน เป็นดอกไม้ประจำชาติของกัมพูชา เป็นดอกไม้ที่มีสีขาวเหลืองอยู่บนใบเดี่ยว มีกลิ่นหอมในเวลาค่ำ พบได้ทั่วไปในประเทศกัมพูชา มักปลูกไว้ในสวนสาธารณะ
สัตว์ประจำชาติกัมพูชาคือ กูปรี (Kouprey) หรือโคไพร เป็นสัตว์จำพวกกระทิงและวัวป่า พบเห็นได้ยากในปัจจุบัน เชื่อว่าอาจมีหลงเหลืออยู่ในป่าแถบชายแดนไทยกับกัมพูชา
วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ASEAN Day:วันอาเซียน
วันอาเซียน ๘ สิงหาคม
ASEAN DAY 8 AUGUST
ASEAN DAY 8 AUGUST
วันอาเซียน 8 สิงหาคม มีต้นกำเนิดจากวันก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออา เซียน ที่ตัวแทนจาก 5 ประเทศสมาชิก ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์และไทย ได้มาร่วมลงนามความร่วมมือ ที่วังสราญรมย์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ซึ่งต่อมามีสมาชิกเข้าร่วมกับอาเซียนอีก 5 ประเทศ คือ บรูไน ดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว เมียนมาร์ และกัมพูชาตามลำดับ รวมเป็นทั้งหมด 10 ประเทศ ซึ่งปีนี้ถือเป็นปีที่ 46 ที่องค์กรแห่งนี้ได้ก่อตั้งมา
8th August is observed as ASEAN Day. Today is the 46th anniversary of the founding of ASEAN on August 8, 1967 with the signing of the Bangkok Declaration by Indonesia, Malaysia, the Philippines, Singapore and Thailand. These founding members were later joined by Brunei (1984), Vietnam (1995), Laos (1997), Myanmar (1997) and Cambodia (1999).
วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556
A Message from ASEAN for KIDS - August
อีกเพียง 2 วันก็จะถึงวันที่ 8 สิงหาคม ซึ่งเป็น วันอาเซียน โดยวันนี้กำหนดขึ้นจาก วันก่อตั้ง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 ณ วังสราญรมย์ กรุงเทพฯ
หน่วยงานราชการทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนต่างๆ ก็จะมีการจัดกิจกรรมวันอาเซียน ที่ประกอบไปด้วยกิจกรรมต่างๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นการประดับธงของ 10 ชาติสมาชิกอาเซียน การจัดนิทรรศการวันอาเซียน การแข่งขันตอบปัญหาอาเซียนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นต้น เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของอาเซียนให้แก่นักเรียนและคุณครู ก่อนก้าวสู่การรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี 2558
บล็อก ASEAN for KIDS ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการให้ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนในหลากหลายแง่มุมแก่เด็กๆ ทั่วประเทศตลอดมา
วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
Negara Brunei Darussalam:เนการาบรูไนดารุสซาลาม
บล็อก ASEAN for KIDS ขอนำเด็กๆ ไปทำความรู้จักกับ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเรียงตามลำดับอักษรภาษาอังกฤษ ประเทศแรกคือ บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
บรูไน (Brunei) หรือ รัฐบรูไนดารุสซาลาม (State of Brunei Darussalam) เป็นประเทศเล็กๆ ที่ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชายฝั่งด้านเหนือจรดทะเลจีนใต้ พรมแดนทางบกที่เหลือจากนั้นถูกห้อมล้อมด้วยรัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย
บรูไนปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีองค์สุลต่านเป็นทั้งประมุข นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
เมืองหลวงของประเทศบรูไนคือ บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
ธงชาติประเทศบรูไน เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีเหลือง ภายในมีแถบสีดำและสีขาวพาดวางตามแนวทแยงมุม จากมุมด้านบนคันธง ไปจนถึงมุมล่างด้านปลายธง โดยสีขาวอยู่บนสีดำอยู่ล่าง ตรงกลางมีตราแผ่นดินของบรูไน
สกุลเงินของบรูไน คือ ดอลลาร์ บรูไน (Brunei Dollar) 1 ดอลลาร์ บรูไน เท่ากับประมาณ 25 บาทไทย
อาหารที่ได้รับความนิยมของบรูไน คือ อัมบูยัต (Ambuyat) เป็นอาหารประจำชาติที่มีชื่อเสียงมากที่สุด มีลักษณะคล้ายข้าวต้มหรือโจ๊ก มีส่วนผสมของแป้งสาคูเป็นหลัก มักรับประทานแทนข้าว โดยจะมีอาหารจานหลักและเครื่องเคียงอย่างน้อย 3 อย่างวางอยู่โดยรอบ
ดอกไม้ประจำชาติของบรูไนคือ Simpor หรือ ดอกซิมปอร์ เป็นดอกไม้ที่มีกลีบดอกขนาดใหญ่ สีเหลือง เมื่อบานเต็มที่กลีบดอกจะบานออกคล้ายกับร่ม พบขึ้นอยู่ทั่วไปตามแม่น้ำของบรูไน
สำหรับชุดของผู้ชายเรียกว่า บาจูมลายู (Baju Melayu) ส่วนชุดของผู้หญิง เรียกว่า บาจูกุหรง (Baju Kurung) ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใส โดยมากมักเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่งทับ
Negara Brunei Darussalam
ที่ตั้งและอาณาเขต
บรูไน (Brunei) หรือ รัฐบรูไนดารุสซาลาม (State of Brunei Darussalam) เป็นประเทศเล็กๆ ที่ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชายฝั่งด้านเหนือจรดทะเลจีนใต้ พรมแดนทางบกที่เหลือจากนั้นถูกห้อมล้อมด้วยรัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย
ระบอบการปกครองและผู้นำประเทศ
สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์
สุลต่านองค์ปัจจุบัน
เมืองหลวง
เมืองหลวงของประเทศบรูไนคือ บันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan)
ธงชาติและตราแผ่นดิน
ธงชาติประเทศบรูไน เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีเหลือง ภายในมีแถบสีดำและสีขาวพาดวางตามแนวทแยงมุม จากมุมด้านบนคันธง ไปจนถึงมุมล่างด้านปลายธง โดยสีขาวอยู่บนสีดำอยู่ล่าง ตรงกลางมีตราแผ่นดินของบรูไน
สกุลเงิน
สกุลเงินของบรูไน คือ ดอลลาร์ บรูไน (Brunei Dollar) 1 ดอลลาร์ บรูไน เท่ากับประมาณ 25 บาทไทย
อาหารยอดนิยม
อาหารที่ได้รับความนิยมของบรูไน คือ อัมบูยัต (Ambuyat) เป็นอาหารประจำชาติที่มีชื่อเสียงมากที่สุด มีลักษณะคล้ายข้าวต้มหรือโจ๊ก มีส่วนผสมของแป้งสาคูเป็นหลัก มักรับประทานแทนข้าว โดยจะมีอาหารจานหลักและเครื่องเคียงอย่างน้อย 3 อย่างวางอยู่โดยรอบ
ดอกไม้ประจำชาติ
ดอกไม้ประจำชาติของบรูไนคือ Simpor หรือ ดอกซิมปอร์ เป็นดอกไม้ที่มีกลีบดอกขนาดใหญ่ สีเหลือง เมื่อบานเต็มที่กลีบดอกจะบานออกคล้ายกับร่ม พบขึ้นอยู่ทั่วไปตามแม่น้ำของบรูไน
ชุดแต่งกายประจำชาติ
ชุดประจำชาติของชาวบรูไน
สำหรับชุดของผู้ชายเรียกว่า บาจูมลายู (Baju Melayu) ส่วนชุดของผู้หญิง เรียกว่า บาจูกุหรง (Baju Kurung) ผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีสีสันสดใส โดยมากมักเป็นเสื้อผ้าที่คลุมร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า ส่วนผู้ชายจะแต่งกายด้วยเสื้อแขนยาว ตัวเสื้อยาวถึงเข่า นุ่งกางเกงขายาวแล้วนุ่งโสร่งทับ
วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556
A Message from ASEAN for Kids - June
สวัสดีเด็กๆ ผู้ใฝ่หาความรู้เกี่ยวกับอาเซียนทุกคนครับ
ก่อนอื่นต้องขออภัยที่ห่างหายกันไปหลายเดือนเนื่องจากแอดมินติดภารกิจบางประการ แต่คิดว่าเนื้อหาที่ทำเสนอไว้ก่อนหน้านี้คงมีประโยชน์พอสมควร เพราะมีเด็กๆ หรืออาจรวมไปถึงคุณครูและผุู้ปกครองเข้ามาเยี่ยมชมบล็อกกันอยู่ตลอดเวลา วันละประมาณ 300-500 ครั้ง
ด้วยการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับอาเซียนในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ผ่านรูปแบบคำถามและคำตอบ เชื่อว่าน่าจะถูกใจใครหลายคน และสิ่งที่กำลังจะเพิ่มเติมเข้ามาคือ ASEAN QUIZ และ ASEAN Worksheet ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งจะทำให้เด็กๆ เข้าใจทุกเรื่องราวเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนได้ดียิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์กับคุณครูในการนำไปประกอบการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้อาเซียนในชั้นเรียนต่อไป
วันนี้บล็อก ASEAN for KIDS ซึ่งถือเป็นน้องของบล็อก ASEAN CORNER (บล็อกสำหรับพี่ๆ ระดับมัธยมศึกษา) กำลังจะมีอายุครบ 6 เดือน และกำลังจะมียอดเข้าชมเกิน 1 หมื่นครั้งในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ผู้จัดสร้างบล็อกนี้ก็รู้สึกภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเติมเต็มความรู้เพื่อมุ่งสู่ประชาคมอาเซียน 2015 แก่เด็กไทยทั้งประเทศ
Kru Ekachai
ก่อนอื่นต้องขออภัยที่ห่างหายกันไปหลายเดือนเนื่องจากแอดมินติดภารกิจบางประการ แต่คิดว่าเนื้อหาที่ทำเสนอไว้ก่อนหน้านี้คงมีประโยชน์พอสมควร เพราะมีเด็กๆ หรืออาจรวมไปถึงคุณครูและผุู้ปกครองเข้ามาเยี่ยมชมบล็อกกันอยู่ตลอดเวลา วันละประมาณ 300-500 ครั้ง
ด้วยการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับอาเซียนในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ผ่านรูปแบบคำถามและคำตอบ เชื่อว่าน่าจะถูกใจใครหลายคน และสิ่งที่กำลังจะเพิ่มเติมเข้ามาคือ ASEAN QUIZ และ ASEAN Worksheet ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งจะทำให้เด็กๆ เข้าใจทุกเรื่องราวเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนได้ดียิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์กับคุณครูในการนำไปประกอบการเรียนการสอนหน่วยการเรียนรู้อาเซียนในชั้นเรียนต่อไป
วันนี้บล็อก ASEAN for KIDS ซึ่งถือเป็นน้องของบล็อก ASEAN CORNER (บล็อกสำหรับพี่ๆ ระดับมัธยมศึกษา) กำลังจะมีอายุครบ 6 เดือน และกำลังจะมียอดเข้าชมเกิน 1 หมื่นครั้งในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ผู้จัดสร้างบล็อกนี้ก็รู้สึกภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเติมเต็มความรู้เพื่อมุ่งสู่ประชาคมอาเซียน 2015 แก่เด็กไทยทั้งประเทศ
Kru Ekachai
วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ASEAN Anthem - The ASEAN Way
เพลงประจำอาเซียนมีชื่อว่า "The ASEAN Way" หรือ "วิถีแห่งอาเซียน"
ผู้ประพันธ์เพลงประจำอาเซียนคือใคร
ผู้ประพันธ์บทเพลงประจำอาเซียนคือชาวไทย ได้แก่
- พยอม วลัยพัชรา ผู้ประพันธ์เนื้อร้อง
- กิตติคุณ สดประเสริฐ ผู้ประพันธ์ทำนองและเรียบเรียง
- สำเภา ไตรอุดม ผู้ประพันธ์ทำนอง
กฎบัตรอาเซียนข้อใดที่ระบุให้มีเพลงประจำอาเซียน
การมีเพลงประจำอาเซียน เป็นไปตามกฎบัตรอาเซียนข้อที่ 40
The ASEAN Way
วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
ASEAN Charter:กฎบัตรอาเซียน
กฎบัตรอาเซียนคืออะไร
กฎบัตรอาเซียน เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียน ที่จะทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล
วัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียนคืออะไร
ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกติกาในการทำงาน
กฎบัตรอาเซียนได้รับการรับรองเมื่อใด
ผู้นำอาเซียนได้รับรองกฎบัตรอาเซียน ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ณ ประเทศสิงคโปร์ ในโอกาสครบรอบ 40 ปีของการก่อตั้งอาเซียน
กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้เมื่อใด
ประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียนครบทั้ง 10 ประเทศเมื่อ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2551 กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 15 ธันวาคม 2551 เป็นต้นไป
กฎบัตรอาเซียนประกอบไปด้วยบทบัญญัติกี่หมวดและกี่ข้อ
กฎบัตรอาเซียนประกอบด้วยบทบัญญัติ 13 หมวด 55 ข้อ
วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556
Former Secretaries-General of ASEAN:รายนามอดีตเลขาธิการอาเซียน
อดีตเลขาธิการอาเซียนมีจำนวนทั้งหมดกี่ท่าน
นับตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันองค์กรแห่งนี้มีอดีตเลขาธิการรวมทั้งสิ้น 12 ท่าน ได้แก่
Dr.Surin Pitsuwan
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ
Thailand / ประเทศไทย
1 Jan 2008 to 31 Dec 2012
Ong Keng Yong
ออง เค็ง ยอง
Singapore /สิงคโปร์
1 Jan 2003 to 31 Dec 2007
Rodoflo C. Severino Jr.
The Philippines /ฟิลิปปินส์
1 Jan 1998 to 31 Dec 2002
Dato Ajit Singh
ดาโต๊ะ อาจิต ซิงห์
Malaysia /มาเลเซีย
1 Jan 1993 to 31 Dec1997
Rusli Noor
รุสลี นูร์
Indonesia /อินโดนีเซีย
17 July 1989 to 1 Jun 1993
Roderick Yong
รอดเดอริก ยอง
Brunei Darussalam /บรูไน ดารุสซาลาม
16 July 1986 to 16 July 1989
Phan Wannamethee
แผน วรรณเมธี
Thailand /ประเทศไทย
16 July 1984 to 15 July 1986
Chan Kai Yau
Singapore /สิงคโปร์
18 July 1982 to 15 July 1984
Narciso G. Reyes
นาซิโซ จี เรเยส
The Philippines /ฟิลิปปินส์
1 July 1980 to 1 July 1982
Datuk Ali Bin Abdullah
ดาโต๊ะอาลี บิน อับดุลลาห์
Malaysia /มาเลเซีย
10 July 1978 to 30 June 1980
Umarjadi Notowijono
อูมาจาร์ดี โนโตวิโจโน
Indonesia /อินโดนีเซีย
19 Feb 1978 to 30 June 1978
Hartono Rekso Dharsono
ฮาร์โตโน เร็กโซ ดาร์โซโน
Indonesia /อินโดนีเซีย
7 June 1976 to 18 Feb 1978
Photography supplied courtesy of:
หนังสือบันทึกการเดินทางอาเซียน กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ
Source:
วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556
Secretary-General of ASEAN:เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน
ใครคือเลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน
นายเล เลือง มินห์ (Le Luong Minh) จากประเทศเวียดนาม ดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการอาเซียนคนที่ 13 ต่อจาก ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ
เลขาธิการอาเซียนมีวาระการดำรงตำแหน่งกี่ปี
เลขาธิการอาเซียนมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี และดำรงตำแหน่งได้เพียงสมัยเดียวเท่านั้น
เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบันเริ่มและจะสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งเมื่อใด
นายเล เลือง มินห์ เริ่มดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 และจะครบวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560
วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556
ASEAN Secretariat:สำนักเลขาธิการอาเซียน
ASEAN Secretariat
สำนักเลขาธิการอาเซียน
สำนักเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่ใด
สำนักเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556
ASEAN Member States:ประเทศสมาชิกอาเซียน
อาเซียนประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่ประเทศ
ปัจจุบันอาเซียนประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ เรียงตามลำดับอักษรภาษาอังกฤษได้ ดังนี้
- Brunei Darussalam ประเทศบรูไน
- Cambodia ประเทศกัมพูชา
- Indonesia ประเทศอินโดนีเซีย
- Laos ประเทศลาว
- Malaysia ประเทศมาเลเซีย
- Myanmar ประเทศเมียนมาร์
- Philippines ประเทศฟิลิปปินส์
- Singapore ประเทศสิงคโปร์
- Thailand ประเทศไทย
- Vietnam ประเทศเวียดนาม
วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556
Founding Fathers of ASEAN:สมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียน
สมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียนประกอบไปด้วยประเทศใดบ้าง
- สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)
- มาเลเซีย (Malaysia)
- สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)
- สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore)
- ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)
ปฏิญญาก่อตั้งอาเซียนลงนามที่ประเทศไหน
มีการลงนามปฏิญญาก่อตั้งอาเซียนร่วมกัน ณ วังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510
บุคคลที่เป็นตัวแทนจาก 5 ประเทศสมาชิกได้แก่ใครบ้าง
- นายนาซิโซ รามอส จากประเทศฟิลิปปินส์
- นายอาดัม มาลิก จากประเทศอินโดนีเซีย
- พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันต์ จากประเทศไทย
- ตุน อับดุล ราซัก บิน ฮุสเซ็น จากประเทศมาเลเซีย
- นายเอส ราชารัตนัม จากประเทศสิงคโปร์
วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556
History of ASEAN:ความเป็นมาของอาเซียน
อาเซียนคืออะไร
อาเซียน คือ องค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" หรือเรียกสั้นๆ ว่า อาเซียน
ASEAN ย่อมาจากอะไร
Association of Southeast Asian Nations
อาเซียนก่อตั้งขึ้นเมื่อใด
อาเซียน ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 หลังการลงนาม ปฏิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า ปฏิญญากรุงเทพฯ
อาเซียนก่อตั้งขึ้นเพื่อเหตุผลใด
อาเซียนมีสมาชิกเริ่มแรกกี่ประเทศ
อาเซียนมีสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ ได้แก่
- สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
- มาเลเซีย
- สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
- สาธารณรัฐสิงคโปร์
- ราชอาณาจักรไทย
ปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกทั้งหมดกี่ประเทศ
ปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ โดยมีอีก 5 ประเทศที่ทยอยเข้าร่วมเป็นสมาชิกในภายหลังได้แก่
- บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม 2527
- สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฎาคม 2538 - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540
- สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540
- ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542
ประเทศติมอร์-เลสเตเป็นสมาชิกอาเซียนหรือไม่
ประเทศติมอร์ตะวันออกหรือติมอร์-เลสเต ซึ่งได้รับเอกราชจากประเทศอินโดนีเซียเมื่อปี พ.ศ.2545 นั้นยังไม่ได้เป็นสมาชิกลำดับที่ 11 ของอาเซียน แต่ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556
Welcome to ASEAN for KIDS
ยินดีต้อนรับเด็กๆ ทุกคนสู่ ASEAN for KIDS แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียนที่สร้างขึ้นสำหรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาโดยเฉพาะเพื่อเตรียมพร้อมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558
ทุกเรื่องราวเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนจะได้รับการนำเสนอในรูปแบบสองภาษาคือภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อเน้นการเรียนรู้ภาษาอังกฤษซึ่งได้รับการบัญญัติให้เป็นภาษากลางของประชาคมอาเซียน ในขณะเดียวกันภาษาไทยก็มีความสำคัญยิ่งเช่นกัน เด็กๆ จะต้องใช้ให้ถูกต้องในฐานะภาษาประจำชาติของเรา
นอกจากความรอบรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนทุกแง่มุมแล้ว ASEAN for KIDS ยังมีคำถามทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษรอทดสอบความรอบรู้ของเด็กๆ เพื่อการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มภาคภูมิในฐานะอนาคตของชาติ
มาร่วมเรียนรู้ทุกๆ เรื่องราวเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนในแบบเด็กๆ ไปด้วยกันครับ
Kru Ekachai
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)